ประวัติของการสวดมนต์
ประวัติการสวดมนต์
การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการสร้างมนต์ชีวิตไว้ประจำตัว เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาทและสร้างพลังจิต ยังความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับตนเอง ในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีสติระลึกอยู่เสมอ ในการที่จะประพฤติชอบในกรอบของศีลธรรม อันเป็นการนำความสุขความเจริญมาสู่ตนเอง เป็นชีวิตที่มั่นคง และจักส่งผลให้เกิดความมั่นคงต่อประเทศชาติด้วย การสวดมนต์นั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยที่พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว เพื่อป้องกันความหลงลืม ท่านก็จะนำเอาคำสั่งสอนนั้นมาทบทวนด้วยตนเองบ้าง เป็นคณะบ้าง จนคล่องปาก จำได้ขึ้นใจที่เรียกว่า “วาจุคคโต” เพราะในสมัยนั้นตัวหนังสือที่จะใช้บันทึกยังไม่มี พอเวลานานเข้าเกรงว่าพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะวิปริตผิดเพี้ยนไป ก็จัดให้มีการประชุมกันมีการทบทวนสอบทานที่เรียกว่า การทำสังคายนา ในหนังสือสวดมนต์สิบสองตำนานของกองทัพอากาศ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ อ้างหนังสือเรื่องตามตำนานพระปริตร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่าประเพณีที่พระสงฆ์สวดพระปริตร(สวดมนต์) เกิดขึ้นในลังกาทวีปประมาณว่า เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วราว ๕๐๐ ปี สาเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีสวดพระปริตรตามบ้านนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ในพงศาวดารปรากฏว่า พวกทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมือง(ลังกา) อยู่นานๆ หลายครั้ง พวกทมิฬนับถือไสยศาสตร์ พาศาสนาพราหมณ์เข้ามาสั่งสอนในลังกาทวีปด้วย อย่างไรก็ตาม คติศาสนาพราหมณ์นั้นนิยมว่าผู้ทรงพระเวทอาจร่ายมนต์ให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกันแก้ไขภยันตรายแก่มหาชนได้ สันนิษฐานว่าพวกชาวลังกาแม้ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ย่อมมีเวลาปรารถนาสิริมงคล และมีเวลาหวาดหวั่นต่อภยันตรายตามธรรมดาสามัญมนุษย์ คงจะขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระชาวลังกา ช่วยหาแนวทางในพระพุทธศาสนาสงเคราะห์เพื่อให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกัน อันตรายให้แก่ตนบ้าง พระสงฆ์มีความกรุณา จึงคิดวิธีการสวดพระปริตรขึ้น ให้สมประสงค์ของประชาชน ก็แต่วิธีร่ายเวทมนต์ของพราหมณ์นั้น เขาวิงวอนขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า คติทางพระพุทธศาสนาห้ามการทำเช่นนั้น พระสงฆ์จึงค้นในพระไตรปิฎกเลือกเอาพระสูตรและปาฐะพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยอันมีตำนานอ้างว่า เกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ มาสวดเป็นมนต์ การสวดมนต์ดังกล่าวนั้นเรียกว่าสวดพระปริตร หมายถึงสวดพระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้มกันอันตรายต่างๆได้ การสวดมนต์ของชาวพุทธมีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ ๑. สวดพระสูตร เช่น บทธรรมจักรกัปปวัตนสูตร มงคลสูตร เป็นต้น ๒. สวดพระปริตร เช่น บทโมรปริตร ขันธปริตร เป็นต้น ๓. สวดสัจกิริยา เช่น บทมงคลจักรวาลใหญ่ มงคลจักรวาลน้อย หรือบทที่ลงท้ายด้วยคำว่า “อานุภาเวน” เป็นการตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดประโยชน์ ถึงอย่างไรก็ตามการสวดมนต์ก็เป็นส่วนให้เกิดสมาธิ พลังจิตและสิริมงคลแก่ผู้สวดและผู้ฟัง การสวดมนต์มีอยู่ ๒ แบบ คือ ๑. การสวดเป็นบทๆ เป็นคำๆ ไป เรียกว่าแบบปทภาณะ นี้อย่างหนึ่ง เช่น อย่างที่พระสงฆ์สวดกันอยู่ทั่วไปในวัดหรือในงานพิธีต่างๆ ๒. การสวดแบบใช้เสียงตามทำนองของบทประพันธ์ ฉันทลักษณ์ต่างๆ เรียก ว่าสรภาณะอย่างหนึ่ง เช่น พระสงฆ์ในงานพิธีรับเทศน์หรือในเทศกาลพิเศษ เช่น ในคราวเทศน์ในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น วิธีการสวดแบบสรภาณะนี้เอง เรียกอย่างหนึ่งว่า “สรภัญญะ” (อ่านว่า สะระภัญญะ) และต่อมาได้วิวัฒนาการให้พระสงฆ์เทศน์เป็นทำนองแหล่ขึ้นในบททำนองร่ายยาว เช่น ในเรื่องพระเวสสันดรชาดกจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นเรื่องสืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้วโดยท่านพระโสณะกุฏิกัณณะเป็นผู้สวดถวายพระพุทธเจ้า ในคราวมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และพักอยู่ในพระเชตวันวิหารกับพระพุทธเจ้า มีเรื่องปรากฏเป็นหลักฐานในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ ข้อ ๑๗ หน้า ๒๗ (พระวินัยปิฎกภาษาบาลี ฉบับทยยรฏสส เล่มที่ ๕ พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ว่า อถโข ภควา รตฺติยา ปจฺจูสสมยํ ปจฺจุฏฺาย อายสฺมนฺตํ โสณํ อชฺเฌสิ “ปฏิภาตุ ตํ ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุนฺติ”. “เอวํ ภนฺเตติ” โข อายสฺมา โสโณ ภควโต ปฏิสฺสุณิตฺวา สพฺพาเนว อฏฺกวคฺคิกานิ สเรน อภาสิ. อถโข ภควา อายสฺมโต โสณสฺส สรภญฺญปริโยสาเน อพฺภานุโมทิ, “สาธุ สาธุ ภิกฺขุ, สุคฺคหิตานิ โข เต ภิกฺขุ อฏฺกวคฺคิกานิ สุมนสิกตานิ สูปธาริตานิ, กลฺยาณิยาสิ วาจาย สมนฺนาคโต วิสฺสฏฺาย อเนลคลาย อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา, กติวสฺโสสิ ตฺวํ ภิกฺขูติ”. พระไตรปิฎกภาษาไทยพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ เล่มที่ ๕ ข้อ ๑๗ หน้า ๓๓ ว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงเสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้นเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรงอัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด ท่านพระโสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้สวดพระสูตรทั้งหลายอันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้นจบสรภัญญะของพระโสณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราโมทย์ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายในอัฏฐกวรรคเธอเล่าเรียนมาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำไว้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจาไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ” การสวดมนต์ทำนองสรภัญญะด้วยภาษาบาลีนั้น ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ส่วนการสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ที่เป็นภาษาไทย สันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีขึ้นประมาณในรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุผลว่า คำประพันธ์สวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ที่เป็นภาษาไทย (คือ องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ ญ ภาพนั้นนิรันดร, ธรรมะคือคุณากร ฯลฯ ด้วยจิตและกายวาจา และ สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ จงดับและกลับเสื่อมศูนย์) ที่เป็นบทฉันทลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งใช้สวดในปัจจุบันนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านเป็นผู้ประพันธ์ ท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ ปรากฏหลักฐานในหนังสือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่ง ประพัฒน์ ตรีณรงค์ เป็นผู้เขียนใจความว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระองค์ได้จัดโรงเรียนขึ้นที่วัดนั้น ได้ทรงจัดให้มีตำราเรียนเร็วขึ้น ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้สอย พระนิพนธ์เรื่องนี้ต่อมาได้ใช้เป็นตำราเรียนของเด็กนักเรียนด้วย นอกจากจะทรงคิดแต่งตำราเพื่อให้เรียนหนังสือได้เร็วแล้ว ยังทรงสังเกตเห็นว่าในโรงเรียนขาดการสอนคดีธรรม ครั้งแรกทรงคิดที่จะให้พระเทศน์ให้เด็กฟัง ก็ทรงเกรงว่าจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? เพราะเด็กฟังแล้วไม่เข้าใจ สำหรับข้อนี้ทรงแก้ไขด้วยวิธีเล่าไว้ในหนังสือประวัติอาจารย์ว่า “แต่จะเทศน์ให้เด็กฟังก็ไม่เข้าใจ เห็นว่า ถ้าแต่งเป็นคำกลอนให้เด็กท่องสวดจะดีกว่า ข้าพเจ้าบอกความที่ปรารถนาไปยังพระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ขอให้ท่านแต่งคำนมัสการส่งขึ้นไปให้ ท่านก็แต่งให้ตามประสงค์ เป็นคำนมัสการ ๗ บท ขึ้นด้วยบทบาลีแล้วมีกาพย์กลอนเป็นภาษาไทยทุกบท นมัสการพระพุทธเจ้า ขึ้นต้นว่า องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน เป็นต้น บท ๑ นมัสการพระธรรมเจ้าบท ๑ นมัสการพระสงฆ์เจ้าบท ๑ สามบทนี้ให้เด็กสวด เมื่อเริ่มเรียนตอนเช้า มีคำบูชาคุณบิดามารดาบท ๑ บูชาคุณครูบท ๑ สำหรับใช้สวดเมื่อเริ่มเรียนตอนบ่าย และมีคำบูชาพระคุณพระบุรพกษัตริย์บท ๑ คำขอพรเทวดาบท ๑ สำหรับใช้สวดเมื่อจะเลิกเรียน เริ่มสวดกันในโรงเรียนนิเวศน์ฯ ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังบวชอยู่” (ปัจจุบันคำสอนดังกล่าวนี้ก็ยังใช้ในโรงเรียนในวันประชุมสุดสัปดาห์ของโรงเรียน) การสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ได้ใช้สวดกันต่อมาเป็นประจำในวันสุดสัปดาห์ ถ้าโรงเรียนหยุดวันพระก็ให้สวดในวันโกน ต่อมาโรงเรียนหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ให้สวดในวันศุกร์เป็นกิจกรรมสืบสานมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาสืบต่อๆ กันมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้วางระเบียบว่าด้วยการสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียนเพื่อส่งเสริมศีลธรรมจรรยามารยาท และฝึกอบรมจิตใจและนิสัยอันดีงาม ประพฤติตนในทางที่ดีที่ชอบ ซึ่งระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการ สวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๐๓
การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการสร้างมนต์ชีวิตไว้ประจำตัว เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาทและสร้างพลังจิต ยังความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับตนเอง ในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีสติระลึกอยู่เสมอ ในการที่จะประพฤติชอบในกรอบของศีลธรรม อันเป็นการนำความสุขความเจริญมาสู่ตนเอง เป็นชีวิตที่มั่นคง และจักส่งผลให้เกิดความมั่นคงต่อประเทศชาติด้วย การสวดมนต์นั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยที่พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว เพื่อป้องกันความหลงลืม ท่านก็จะนำเอาคำสั่งสอนนั้นมาทบทวนด้วยตนเองบ้าง เป็นคณะบ้าง จนคล่องปาก จำได้ขึ้นใจที่เรียกว่า “วาจุคคโต” เพราะในสมัยนั้นตัวหนังสือที่จะใช้บันทึกยังไม่มี พอเวลานานเข้าเกรงว่าพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะวิปริตผิดเพี้ยนไป ก็จัดให้มีการประชุมกันมีการทบทวนสอบทานที่เรียกว่า การทำสังคายนา ในหนังสือสวดมนต์สิบสองตำนานของกองทัพอากาศ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ อ้างหนังสือเรื่องตามตำนานพระปริตร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่าประเพณีที่พระสงฆ์สวดพระปริตร(สวดมนต์) เกิดขึ้นในลังกาทวีปประมาณว่า เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วราว ๕๐๐ ปี สาเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีสวดพระปริตรตามบ้านนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ในพงศาวดารปรากฏว่า พวกทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมือง(ลังกา) อยู่นานๆ หลายครั้ง พวกทมิฬนับถือไสยศาสตร์ พาศาสนาพราหมณ์เข้ามาสั่งสอนในลังกาทวีปด้วย อย่างไรก็ตาม คติศาสนาพราหมณ์นั้นนิยมว่าผู้ทรงพระเวทอาจร่ายมนต์ให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกันแก้ไขภยันตรายแก่มหาชนได้ สันนิษฐานว่าพวกชาวลังกาแม้ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ย่อมมีเวลาปรารถนาสิริมงคล และมีเวลาหวาดหวั่นต่อภยันตรายตามธรรมดาสามัญมนุษย์ คงจะขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระชาวลังกา ช่วยหาแนวทางในพระพุทธศาสนาสงเคราะห์เพื่อให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกัน อันตรายให้แก่ตนบ้าง พระสงฆ์มีความกรุณา จึงคิดวิธีการสวดพระปริตรขึ้น ให้สมประสงค์ของประชาชน ก็แต่วิธีร่ายเวทมนต์ของพราหมณ์นั้น เขาวิงวอนขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า คติทางพระพุทธศาสนาห้ามการทำเช่นนั้น พระสงฆ์จึงค้นในพระไตรปิฎกเลือกเอาพระสูตรและปาฐะพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยอันมีตำนานอ้างว่า เกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ มาสวดเป็นมนต์ การสวดมนต์ดังกล่าวนั้นเรียกว่าสวดพระปริตร หมายถึงสวดพระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้มกันอันตรายต่างๆได้ การสวดมนต์ของชาวพุทธมีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ ๑. สวดพระสูตร เช่น บทธรรมจักรกัปปวัตนสูตร มงคลสูตร เป็นต้น ๒. สวดพระปริตร เช่น บทโมรปริตร ขันธปริตร เป็นต้น ๓. สวดสัจกิริยา เช่น บทมงคลจักรวาลใหญ่ มงคลจักรวาลน้อย หรือบทที่ลงท้ายด้วยคำว่า “อานุภาเวน” เป็นการตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดประโยชน์ ถึงอย่างไรก็ตามการสวดมนต์ก็เป็นส่วนให้เกิดสมาธิ พลังจิตและสิริมงคลแก่ผู้สวดและผู้ฟัง การสวดมนต์มีอยู่ ๒ แบบ คือ ๑. การสวดเป็นบทๆ เป็นคำๆ ไป เรียกว่าแบบปทภาณะ นี้อย่างหนึ่ง เช่น อย่างที่พระสงฆ์สวดกันอยู่ทั่วไปในวัดหรือในงานพิธีต่างๆ ๒. การสวดแบบใช้เสียงตามทำนองของบทประพันธ์ ฉันทลักษณ์ต่างๆ เรียก ว่าสรภาณะอย่างหนึ่ง เช่น พระสงฆ์ในงานพิธีรับเทศน์หรือในเทศกาลพิเศษ เช่น ในคราวเทศน์ในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น วิธีการสวดแบบสรภาณะนี้เอง เรียกอย่างหนึ่งว่า “สรภัญญะ” (อ่านว่า สะระภัญญะ) และต่อมาได้วิวัฒนาการให้พระสงฆ์เทศน์เป็นทำนองแหล่ขึ้นในบททำนองร่ายยาว เช่น ในเรื่องพระเวสสันดรชาดกจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นเรื่องสืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้วโดยท่านพระโสณะกุฏิกัณณะเป็นผู้สวดถวายพระพุทธเจ้า ในคราวมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และพักอยู่ในพระเชตวันวิหารกับพระพุทธเจ้า มีเรื่องปรากฏเป็นหลักฐานในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ ข้อ ๑๗ หน้า ๒๗ (พระวินัยปิฎกภาษาบาลี ฉบับทยยรฏสส เล่มที่ ๕ พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ว่า อถโข ภควา รตฺติยา ปจฺจูสสมยํ ปจฺจุฏฺาย อายสฺมนฺตํ โสณํ อชฺเฌสิ “ปฏิภาตุ ตํ ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุนฺติ”. “เอวํ ภนฺเตติ” โข อายสฺมา โสโณ ภควโต ปฏิสฺสุณิตฺวา สพฺพาเนว อฏฺกวคฺคิกานิ สเรน อภาสิ. อถโข ภควา อายสฺมโต โสณสฺส สรภญฺญปริโยสาเน อพฺภานุโมทิ, “สาธุ สาธุ ภิกฺขุ, สุคฺคหิตานิ โข เต ภิกฺขุ อฏฺกวคฺคิกานิ สุมนสิกตานิ สูปธาริตานิ, กลฺยาณิยาสิ วาจาย สมนฺนาคโต วิสฺสฏฺาย อเนลคลาย อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา, กติวสฺโสสิ ตฺวํ ภิกฺขูติ”. พระไตรปิฎกภาษาไทยพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ เล่มที่ ๕ ข้อ ๑๗ หน้า ๓๓ ว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงเสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้นเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรงอัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด ท่านพระโสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้สวดพระสูตรทั้งหลายอันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้นจบสรภัญญะของพระโสณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราโมทย์ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายในอัฏฐกวรรคเธอเล่าเรียนมาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำไว้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจาไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ” การสวดมนต์ทำนองสรภัญญะด้วยภาษาบาลีนั้น ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ส่วนการสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ที่เป็นภาษาไทย สันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีขึ้นประมาณในรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุผลว่า คำประพันธ์สวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ที่เป็นภาษาไทย (คือ องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ ญ ภาพนั้นนิรันดร, ธรรมะคือคุณากร ฯลฯ ด้วยจิตและกายวาจา และ สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ จงดับและกลับเสื่อมศูนย์) ที่เป็นบทฉันทลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งใช้สวดในปัจจุบันนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านเป็นผู้ประพันธ์ ท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ ปรากฏหลักฐานในหนังสือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่ง ประพัฒน์ ตรีณรงค์ เป็นผู้เขียนใจความว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระองค์ได้จัดโรงเรียนขึ้นที่วัดนั้น ได้ทรงจัดให้มีตำราเรียนเร็วขึ้น ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้สอย พระนิพนธ์เรื่องนี้ต่อมาได้ใช้เป็นตำราเรียนของเด็กนักเรียนด้วย นอกจากจะทรงคิดแต่งตำราเพื่อให้เรียนหนังสือได้เร็วแล้ว ยังทรงสังเกตเห็นว่าในโรงเรียนขาดการสอนคดีธรรม ครั้งแรกทรงคิดที่จะให้พระเทศน์ให้เด็กฟัง ก็ทรงเกรงว่าจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? เพราะเด็กฟังแล้วไม่เข้าใจ สำหรับข้อนี้ทรงแก้ไขด้วยวิธีเล่าไว้ในหนังสือประวัติอาจารย์ว่า “แต่จะเทศน์ให้เด็กฟังก็ไม่เข้าใจ เห็นว่า ถ้าแต่งเป็นคำกลอนให้เด็กท่องสวดจะดีกว่า ข้าพเจ้าบอกความที่ปรารถนาไปยังพระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ขอให้ท่านแต่งคำนมัสการส่งขึ้นไปให้ ท่านก็แต่งให้ตามประสงค์ เป็นคำนมัสการ ๗ บท ขึ้นด้วยบทบาลีแล้วมีกาพย์กลอนเป็นภาษาไทยทุกบท นมัสการพระพุทธเจ้า ขึ้นต้นว่า องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน เป็นต้น บท ๑ นมัสการพระธรรมเจ้าบท ๑ นมัสการพระสงฆ์เจ้าบท ๑ สามบทนี้ให้เด็กสวด เมื่อเริ่มเรียนตอนเช้า มีคำบูชาคุณบิดามารดาบท ๑ บูชาคุณครูบท ๑ สำหรับใช้สวดเมื่อเริ่มเรียนตอนบ่าย และมีคำบูชาพระคุณพระบุรพกษัตริย์บท ๑ คำขอพรเทวดาบท ๑ สำหรับใช้สวดเมื่อจะเลิกเรียน เริ่มสวดกันในโรงเรียนนิเวศน์ฯ ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังบวชอยู่” (ปัจจุบันคำสอนดังกล่าวนี้ก็ยังใช้ในโรงเรียนในวันประชุมสุดสัปดาห์ของโรงเรียน) การสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ได้ใช้สวดกันต่อมาเป็นประจำในวันสุดสัปดาห์ ถ้าโรงเรียนหยุดวันพระก็ให้สวดในวันโกน ต่อมาโรงเรียนหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ให้สวดในวันศุกร์เป็นกิจกรรมสืบสานมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาสืบต่อๆ กันมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้วางระเบียบว่าด้วยการสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียนเพื่อส่งเสริมศีลธรรมจรรยามารยาท และฝึกอบรมจิตใจและนิสัยอันดีงาม ประพฤติตนในทางที่ดีที่ชอบ ซึ่งระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการ สวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๐๓
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมสวดมนต์หมู่
๑. เพื่อน้อมใจรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ที่มีต่อตนเองและชาวโลกและได้ฝึกพุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ
๒. เพื่อปลูกฝังคุณธรรมวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย แก่เด็กและเยาวชนของชาติให้มั่นคง
๓. เพื่อให้มีส่วนร่วมในการรักษาสืบสานวัฒนธรรมไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
๔. เพื่อให้เกิดปัญญา ตระหนักถึงคุณค่าของการประพฤติพระธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๕. เพื่อนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อความ ก้าวหน้ามั่นคงแก่ตนเอง
๖. เพื่อสร้างความสามัคคีอันดีงามระหว่างหมู่คณะและคนในชาติ
๗. เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้กล้าหาญทางด้านจริยธรรม และสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจ
๘. เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในสุนทรียรสของบทประพันธ์และภาษาไทย
อานิสงส์ของการสวดมนต์
๑. ขจัดนิวรณ์ อันเป็นอุปสรรคต่อการทำความดี ก่อให้เกิดความสดชื่นแจ่มใส จิตใจ เบิกบาน
๒. ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา เพราะในขณะสวดมนต์มีกายวาจาปกติ(มีศีล) มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับบทสวดมนต์(มีสมาธิ) ได้รู้คุณความดีของพระรัตนตรัยตามคำแปลของบทสวด(มีปัญญา)
๓. ตัดรากเหง้าความเห็นแก่ตัว เพราะขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่ที่บทสวด ไม่คิดถึงตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงไม่ได้โอกาสเข้ามาแทรกในจิตได้
๔. จิตไม่ขุ่นมัว เกิดสมาธิมั่นคง เพราะขณะสวดมนต์ผู้สวดจะต้องสำรวมใจแน่วแน่ ด้วยเกรงว่าจะสวดผิด จิตจึงเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบเยือกเย็นย่อมเกิดขึ้น
๕. ได้เสริมส่งปัญญาบารมี การสวดมนต์ได้รู้คำแปล รู้ความหมาย ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาบารมี ทำให้คำสอนมั่นคง ไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
๖. เป็นการสืบสานความดีสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะการสวดมนต์ ผู้สวดย่อมได้รู้แนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่ดี เมื่อปฏิบัติตามย่อมได้รับผลเป็นความสะอาด สว่าง สงบของจิตใจ นั่นคือพระพุทธศาสนามั่นคงอยู่กับผู้สวดมนต์และถือได้ว่าได้ปฏิบัติบูชาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปโดยแท้จริง
๗. ทำหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกาให้สมบูรณ์ ผู้สวดมนต์ย่อมได้ชื่อว่า ได้ทำหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกาให้สมบูรณ์ เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม เกิดความสามัคคีในสังคมและหมู่คณะ
อ้างอิง
หนังสือคู่มือสวดมนต์หมู่ฯ
จำมาจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา
http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=8.0
โพสต์โดย w.e.b Administrator
ขอบคุณภาพจาก http://pr.prd.go.th/,http://www.mscs.nu.ac.th/,http://www.firodosia.com/,http://123.242.164.132/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น